Categories
ทริคการแต่งสวนและเลี้ยงสัตว์

เจ้าของต้องเฝ้าระวัง! 3 โรคที่สุนัขแก่เสี่ยงจะเป็นได้ง่าย

ช่างเป็นเรื่องที่น่าห่วงไม่แพ้มนุษย์วัยชราสำหรับสุนัขแก่ที่อายุเยอะมากแล้ว แน่นอนว่าพวกเขาก็ย่อมจะมีอาการเจ็บป่วยตามสภาพร่างกายอย่างที่ควรจะเป็น สุนัขบางตัวก็เจ็บป่วยในระดับเบาด้วยความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก่อน แต่ก็มีสุนัขแก่อีกไม่น้อยที่เมื่อถึงวัยอันสมควรก็จะมีภูมิคุ้มกันและสมรรถภาพทางร่างกายที่แข็งแรงลดน้อยลงทำให้มีโรคมากมายเข้ามาแทรกแซงได้ง่าย ๆ ซึ่งคุณที่เป็นเจ้าของก็ไม่ควรวางใจกับการใช้ชีวิตประจำวันของสุนัขแก่ที่คุณเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว ด้วยว่าการใช้ชีวิตประจำวันที่บางทีดูผิดแผกไปเล็กน้อยในสายตาคุณ บางทีมันอาจเป็นสัญญาณของ 3 โรคนี้ที่สุนัขแก่ส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญจนเป็นอันตรายได้ง่าย ๆ หากคุณพบว่าสุนัขตัวเองอาจเป็น 1 ใน 3 โรคนี้หรือพบว่ามีโอกาสเป็นไปได้หมดก็ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเลยก่อนที่จะไม่ทันการณ์ อย่างน้อยให้เขาอยู่ในการดูแลรักษาก็ดีกว่าปล่อยปละเขาให้ทรมานจากโรคที่มาย่างกรายเต็มที่ 

“ข้ออักเสบ” โรคสุดฮิตของสุนัขแก่

“ข้ออักเสบ” เป็นโรคที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในสุนัขแก่ ที่พวกเขาก็ไม่ต่างจากคนสูงวัยที่เมื่อร่างกายผ่านกาลเวลามายาวนาน กระดูกที่เคยแข็งแรงหลายส่วนก็เริ่มเสื่อมโทรมและเปราะบางง่าย ด้วยการสร้างสารเสริมบำรุงกระดูกและข้อมีความลดน้อยลง ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อตรงบริเวณข้อเสื่อมสภาพจนสุนัขมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่เป็นปกติ เช่น การเดินที่ช้าลง ทรงตัวเวลาลุกยาก ล้มง่าย และบางครั้งอาจจะเจ็บปวดแปลบบริเวณข้อบ่อย ๆ โดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่ข้อต่อต่าง ๆ ต้องมีการรับน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อบวมได้ง่าย

“ไตวายเรื้อรัง” โรคสุดฮิตของสุนัขแก่

“ไตวายเรื้อรัง” เป็นโรคที่พบได้บ่อยอันดับ 2 ในสุนัขแก่ ด้วย “ไต” ที่เป็นอวัยวะสำคัญของสิ่งมีชีวิตจะมีอายุไม่ต่างจากร่างกายทำให้เวลาผ่านไปและใช้งานมาหนักการกรองและขับของเสียออกในรูปปัสสาวะที่สุนัขมีกระบวนการทำงานที่มากกว่ามนุษย์มากจึงเสื่อมสภาพลงตามอายุเร็วจนทำงานได้น้อยลงไปกว่า 75% แล้ว ซึ่งผลจากโรคนี้จะทำให้สุนัขหิวน้ำบ่อยและปัสสาวะมากกว่าเมื่อก่อน อ่อนเพลียง่าย ซึม และเบื่ออาหารจนเริ่มไม่ค่อยอยากลุกไปไหน

“ภาวะอ่อนแรง” โรคสุดฮิตของสุนัขแก่

“ภาวะอ่อนแรง” เป็นโรคที่พบได้บ่อยอันดับ 3 ในสุนัขแก่ อันเกิดจากระบบอวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างที่ทำงานอ่อนประสิทธิภาพลงจนทำให้ร่างกายองค์รวมของสุนัขอ่อนเพลีย หายใจติดขัด ไม่มีแรง เช่น สุนัขที่มีอาการแทรกซ้อนหลายโรคอย่างโรคหัวใจ โรคไตในสุนัข หรือแม้แต่โรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งคนละอย่างกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในสุนัขที่หลายคนมักคิดว่าเป็นโรคเดียวกัน เพราะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเกิดจากระบบประสาทเป็นหลักซึ่งพบได้ในสุนัขทุกวัย ไม่ได้เกิดจากการแทรกซ้อนของโรคหลายโรคในสุนัข

เครดิตภาพ : productnation.co, jojohouse.com

#เฝ้าระวังโรคจากสัตว์ #สัตว์เลี้ยงน่ารัก #ทริคการเลี้ยงสัตว์

Categories
ทริคการแต่งสวนและเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนในการเลี้ยงกระต่ายน้อย แสนรักให้ปลอดภัย

กระต่ายกลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะมีความน่ารัก และเลี้ยงง่าย ถ้าเป็นยุคก่อนกระต่ายจะเป็นสัตว์ป่าที่มักจะถูกล่าจากนักล่าหรือสัตว์กินเนื้ออยู่เสมอ รวมไปถึงมนุษย์ในบางช่วงก็นิยมจับกระต่ายมาเป็นอาหารด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันผู้คนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น ทำให้มันกลายเป็นสัตว์เลี้ยงน่าสนใจอีกประเภท ใครกำลังสนจะเลี้ยงกระต่ายกันอยู่ลองตามไปดูกันต่อดีกว่าเราควรต้องดูแลในเรื่องใดบ้าง 

1. การที่เราคิดจะเลี้ยงกระต่ายน้อยสักตัวนั้น เราควรเป็นคนช่างสังเกตอาการต่างๆ ของเขาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ไม่ค่อยกินน้ำ กินอาหารได้น้อย มีขนร่วงมากกว่าปติ ซึมไม่ค่อยเล่น เกิดแผลตามที่ต่างๆ บริเวณร่างกาย มีขี้มูกขี้ตา และถ้าในกรณีที่ตาเป็นฝ้าจะมีน้ำตาไหล เนื่องจากเยื่อบุตาอักเสบ ขนทิ่มตา ท่อน้ำตาตัน อาการเหล่านี้ ผู้เลี้ยงควรพากระต่ายไปพบสัตว์แพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติและทำการรักษาต่อไป  การเลี้ยงกระต่ายเราควรระมัดระวังโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นพิเศษ เพราะบางโรคสามารถติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยเฉพาะถ้าที่บ้านมีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เพราะมีหลายคนเช่นกันที่มีอาการแพ้ขนกระต่าย   

2. สถานที่เลี้ยงหรือบริเวณที่กระต่ายอยู่ต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด เป็นพื้นที่แห้ง ไม่ร้อนจัด ไม่ชื้นแฉะ ลมไม่พัดแรง อาจเลี้ยงให้อยู่ในกรง เพื่อความปลอดภัย แต่ควรปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายรอบบริเวณบ้านบ้างเป็นครั้งคราว แต่ไม่ควรปล่อยให้วิ่งตามลำพัง เพราะอาจจะถูกทำร้ายจากสัตว์อื่นที่หลงเข้ามาในบริเวณบ้านเราได้ การได้วิ่งเล่นยังมีส่วนช่วยให้กระต่ายน้อยมีอารมณ์ดี แจ่มใส ไม่รู้สึกเหงา 

3. การให้อาหารควรเป็นหญ้าสดหรือหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เพราะหญ้าจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระต่ายมาก และยังช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ สำหรับน้ำดื่มต้องมีวางทิ้งไว้ และทำการเปลี่ยนบ่อยๆ น้ำต้องสะอาด  

4. ถ้าที่บ้านมีเด็กและผู้สูงอายุที่ชอบเล่นใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำไม่เฉพาะแต่กระต่าย ควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค สำหรับกระต่ายจะสามารถฉีดได้เมื่ออายุครบ 4 เดือนขึ้นไป  

5. ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว กระต่ายมักจะเป็นหวัดและเกิดอาการปอดบวมได้ง่าย รวมทั้งมีปัญหาผิวหนังที่เกิดจากความอับชื้นและเชื้อรา ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ 

ทั้งหมดเป็นขั้นตอนการดูแลกระต่ายน้อยแสนรัก ที่ดูเหมือนอาจจะมีหลายอย่าง แต่เชื่อเถอะว่าไม่ยุ่งยากเกินไปสำหรับคุณอย่างแน่นอน เพียงเท่านี้กระต่ายน้อยของคุณก็จะมีสุขภาพดี ร่าเริง แจ่มใสอย่างที่ต้องการกันแล้วค่ะ 

เครดิตภาพ :  pixabay.com

#ทริคเลี้ยงสัตว์ #กระต่าย #สัตว์เลี้ยงน่ารัก

Categories
ทริคการแต่งสวนและเลี้ยงสัตว์

ทำไมควรมีกรงให้สัตว์เลี้ยง 2 กรง

เหล่าคนรักนกทั้งหลายอาจจะสงสัยว่าทำไมการเลี้ยงนกตัวหนึ่งมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดไว้ ทั้งที่เราก็ศึกษาการเลี้ยงนกมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่พอได้มาทำจริงกลับรู้สึกว่ามีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้จากการเลี้ยงด้วยตัวเอง บางอย่างเราต้องเข้าใจจากการดูแลนกของเราให้ดี รู้ความต้องการของเขา รู้ว่านกแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างในอาหารที่เลี้ยงและการกินที่ปริมาณมากน้อยเพียงใด ต้องตามเวลาแค่ไหนถึงจะไม่ทำให้สุขภาพของเขาแย่ หรือแม้แต่เรื่องเล็กน้อยอย่างการใช้กรงก็อาจจะยังเป็นความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผู้คนมักจะมองพลาดคิดว่าการใช้กรงนกเพียงแค่กรงเดียวก็เพียงพอต่อการเลี้ยงนก 1 ตัวหรือนกสายพันธุ์เดียวกันแล้ว แต่สุดท้ายเราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเพียงแค่กรงเดียวเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็อาจทำให้เราต้องวุ่นวายมากอย่างแน่นอนเมื่อเรามีกรงนกแค่เพียง 1 กรงเท่านั้น ฉะนั้นการใช้กรงนก 2 กรงจึงเป็นสิ่งที่คุณควรมีไว้เพราะเหตุใดที่อาจเกิดได้บ้าง?

มีกรงนก 2 กรงเพื่อสำรองหากกรงหนึ่งพัง

คุณควรจะมีกรงนกไว้ 2 กรงเพื่อให้อีกกรงหนึ่งเป็นกรงสำรองได้ทันทีหากจู่ ๆ วันหนึ่งกรงเก่าเกิดพังขึ้นมาซึ่งแม้จะพังจนไม่สามารถซ่อมได้หรือต้องซ่อมก็ยังใช้เวลาสักระยะเลย คำถามคือนกที่คุณเลี้ยงไว้จะไปอยู่ที่ไหน? แค่เปิดกรงออกมามันก็อาจจะบินขึ้นฟ้าไปอย่างรวดเร็วจนพาให้คุณเสียดายเมื่อสายไปแล้วก็ได้ ฉะนั้นในการเปลี่ยนกรงเมื่อกรงเก่าเสีย คือ ต้องนำกรงสำรองหรือกรงที่สองยกมาชิดกับประตูกรงแรกเพื่อให้นกออกมาเข้ากรงที่สองได้ในทันทีไม่มีผิดพลาด แล้วนกจะได้อยู่อย่างสุขสบายไม่หนีไปไหนแน่นอน

มีกรงนก 2 กรงเพื่อใช้เฉพาะกิจเวลาเดินทาง

การมีกรงนกไว้ 2 กรงสามารถช่วยให้คุณได้รับความสะดวกสบายในเวลาที่จะพานกเลี้ยงที่ตัวเองรักออกเดินทางไปท่องเที่ยวนอกบ้านด้วยกันเพื่อให้เขารู้สึกว่าไม่ต้องอยู่กับสถานที่เดิม ๆ ได้ออกมาทำกิจกรรมด้วยกันหรืออาจจะเป็นการเดินทางเพื่อไปทำธุระซึ่งคุณจำเป็นต้องพานกไปด้วย เนื่องจากไม่มีคนดูแล การเลือกกรงที่ 2 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ากรงแรกแบบพกพาขึ้นรถและถือไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายย่อมจะลดอุปสรรคต่อนกและการหอบสัมภาระของคุณมาก

มีกรงนก 2 กรงเพื่อสำรองการล้างกรงเก่า

คุณควรจะมีกรงนกไว้ 2 กรงเผื่อสำรองเวลาที่จำเป็นต้องล้างกรงเก่า นกเลี้ยงของคุณจะได้มีบ้านให้อยู่อย่างสงบชั่วคราว ไม่ต้องหวาดระแวงกับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นชินอย่างบ้านเจ้าของซึ่งเห็นมุมมองใหม่ผ่านอากาศที่ว่างเปล่าไม่มีกรงอยู่ซึ่งอาจทำให้นกเกิดความวิตกกังวลจนตื่นตระหนกได้จึงต้องมีกรงนก 2 กรงไว้ด้วย แล้วนกจะรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในระหว่างที่กรงเก่าล้าง

เครดิตภาพ : Pixabay, siamrath.co.th

#มีกรงให้สัตว์เลี้ยง #การเลี้ยงนก #ทริคการเลี้ยงสัตว์

Categories
ทริคการแต่งสวนและเลี้ยงสัตว์

เตรียมความพร้อมก่อนเลี้ยง ลาบราดอร์

ลาบราดอร์ มีชื่อเต็มๆ ว่า ลาบราดอร์ ริทรีฟเวอร์ แต่เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกเราจึงนิยมเรียกเป็นเพียงสั้นๆ สำหรับสุนัขสายพันธุ์นี้บางครั้งหลายคนอาจจะสับสนกับพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เพราะในช่วงวัยเด็กจะไม่ค่อยแตกต่างกันมาก แต่พอโตขึ้นมา ลาบราดอร์จะมีขนที่สั้นเกรียนกว่า และคล่องแคล่วว่องไวกว่า แต่นิสัยจะใกล้เคียงกัน คือ ขี้เล่น อารมณ์ดี เป็นมิตร แสนรู้ และเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี ถ้าได้รับการฝึกดีๆ ยังสามารถช่วยเหลือผู้คนได้อีกด้วย สำหรับใครที่กำลังคิดจะเลี้ยง ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักสุนัขสายพันธุ์นี้ให้ดีขึ้นกันก่อนดีกว่า

1. ลูกสุนัขตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงช่วงอายุประมาณ 1 เดือน ควรได้รับนมแม่ เพราะจะช่วยให้ลูกสุนัขเติบโตแข็งแรงและมีภูมิป้องกันโรคได้ดี การดูดนมจากเต้ายังเป็นการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อบริเวณปาก เหงือก และช่วงคางอีกด้วย  แต่ถ้านำมาเลี้ยงตั้งแต่ช่วงนี้โดยไม่มีแม่สุนัข นมที่เหมาะควรเป็นนมแพะ อาจเพิ่มอาหารสำหรับลูกสุนัขด้วยก็ได้ แต่ก่อนให้ควรนำไปแช่น้ำให้นิ่มเสียก่อน เพราะกระเพาะยังย่อยอาหารได้ไม่ดีพอ ในช่วงนี้ลูกสุนัขจะหิวบ่อยและจะกินตลอดทั้งวัน โดยผู้เลี้ยงอาจแบ่งอาหารเป็นหลายมื้อในหนึ่งวัน โดยให้ครั้งละไม่ต้องมาก เนื่องจากกระเพาะยังเล็กถ้ากินมากเกินนอกจากย่อยไม่ทันแล้วลูกสุนัขอาจอาเจียนออกมาได้  

2. พออายุประมาณเดือนกว่าๆ ไปแล้ว ให้นำไปถ่ายพยาธิ ส่วนมากจะถ่ายสามวันติดต่อกัน จากนั้นเว้นไป อีกประมาณสิบห้าวัน ให้ทำการถ่ายซ้ำอีกครั้ง 

3. ช่วงอายุเข้าเดือนที่ 2 ให้พาไปฉีดวัคซีน และหลังจากฉีดเป็นเวลา 7 วัน ห้ามอาบน้ำให้ลูกสุนัขอย่างเด็ดขาด และควรระวังอย่าให้เขาลงเล่นน้ำ เพราะอาจทำให้ไม่สบายได้ และหลังจากฉีดครั้งแรกอีก 2 สัปดาห์ ควรพาไปฉีดซ้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ 

4. ที่นอนก็มีส่วนสำคัญ ควรสะอาดและไม่อับชื้น โดยเฉพาะใครที่เลี้ยงไว้ในบ้านควรใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ ส่วนมากลูกสุนัขมักนอนทับกันเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ถ้านำมาเลี้ยงเพียงตัวเดียวควรมีผ้าห่ม หรือหาตุ๊กตาขนนุ่มๆ ให้เขาได้นอนเบียด นอกจากจะอบอุ่นแล้วยังให้ความรู้สึกปลอดภัยอีกด้วย ลูกสุนัขจะหลับนานและไม่ตื่นมาร้องกวน 

ลูกสุนัขจะค่อนข้างซุกซน และมักรื้อค้นทำลายข้าวของ กัดแทะ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจดูแลและค่อยๆ สอน ลูกสุนัขจะค่อยๆ เรียนรู้ และทำตัวเรียบร้อยขึ้นเมื่อเริ่มโต และจะเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักที่ช่วยคลายเหงาได้ดีไปอีกนาน  

เครดิตภาพ : Pixabay , wallpapercave.com

#เตรียมพร้อมก่อนเลี้ยงสัตว์ #สัตว์เลี้ยงน่ารัก #ลาบราดอร์